งานการเมือง ของ ทรงยศ รามสูต

ทรงยศ รามสูต เข้าสู่งานการเมืองตามมารดา และบิดา ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งคู่ โดยเขาได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี พ.ศ. 2531 ต่อมาในการเลือกตั้ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเทิดไท ในปีเดียวกันซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคสามัคคีธรรม[2]

ทรงยศ รามสูต ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535[3] ก่อนหน้านั้นไม่นานบิดาของเขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลดังกล่าวด้วย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ทรงยศ รามสูต ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม

ใกล้เคียง

ทรงยศ สุขมากอนันต์ ทรงยศ รามสูต ทรงศักดิ์ ทองศรี ทรงศักดิ์ เปรมสุข ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ทรงยี่สิบหน้า ทรงยี่สิบหน้าปลายตัด ทรงยี่สิบหน้าเมทาไบดิมินิช ทรงยี่สิบหน้าไทรดิมินิชออกเมนต์ ทรงยี่สิบหน้าไทรดิมินิช